ที่ตั้ง ภาควิชาการเงินและการธนาคาร อาคาร 15 ชั้น 2
38 ถ.เพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160
โทรศัพท์ 0-2457-0068 ต่อ 5221 , 5202 โทรสาร 0-2457-3982, 0-2467-3174
ประวัติความเป็นมา
ภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ จัดตั้งและดำเนินการเรียนการสอนตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2531โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางการเงินและการธนาคาร สามารถประยุกต์ทฤษฎีเข้าสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล และสามารถใช้สาระสนเทศทางการเงินเพื่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง รวมถึงเป็นผู้ยึดมั่นในจรรยาบรรณของนักการเงินที่ดีในอนาคต
ภาควิชาการเงินและการธนาคาร เปิดสอนหลักสูตร 4 ปีและหลักสูตรเทียบโอน 2 ปี ภาคปกติและภาคค่ำ ปัจจุบันมีอาจารย์ประจำที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ทางการเงิน จำนวน14ท่านรวมจำนวนทั้งสิ้น 15 ท่าน
ผู้บริหารภาควิชา
อาจารย์สุรชัย ภัทรบรรเจิด หัวหน้าภาควิชาการเงินและการธนาคาร
วิสัยทัศน์
มุ่งมั่นพัฒนาบุคลาการทางการเงินที่ทรงคุณค่าเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
ภาควิชาการเงินและการธนาคาร ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาการเงินและการธนาคาร ที่มีความรู้ความสามารถในเชิงปฏิบัติและเชิงทฤษฎี เพื่อนำไปใช้ในการทำงานได้จริง โดยเน้นในด้านการให้นักศึกษาได้มีโอกาสปฏิบัติจริงทั้งในรูปแบบของสหกิจศึกษา การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการทางการเงินที่มีมาตรฐานและคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นอกจากนี้ยังมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีจริยธรรมและคุณธรรมในการทำงานอันจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป
วัตถุประสงค์
1. ผลิตบัณฑิตทางบริหารธุรกิจสาขาการเงินและการธนาคาร
2. พัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถมีโลกทัศน์ และ วิสัยทัศน์กว้างไกลในสังคมปัจจุบันและในโลกของธุรกิจโดยเน้นการปฏิบัติงานจริงและฝึกฝนให้มีทักษะที่พร้อมต่อการทำงาน
3. ส่งเสริมบุคลากรและนักศึกษาให้มีจิตสำนึกในด้านจริยธรรม คุณธรรมและยึดหลักธรรมาภิบาล
4. ส่งเสริมการศึกษาวิจัย การสร้างงานสร้างสรรค์ นวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่ อันจะนำไปสู่การพัฒนาด้านวิชาการ และการพัฒนาวิชาชีพทางด้านการเงิน
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
1. เป็นผู้ที่มีความรู้ในสาขาการเงินและการธนาคารและสามารถนำมาประยุกต์ในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเพื่อจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปวิเคราะห์ และสังเคราะห์ทางด้านการเงิน
3. เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารในด้านโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านการเงินต่างๆ
4. เป็นผู้ที่มีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์และสังคม
5. เป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพทางด้านการเงินและการธนาคาร
เรียนจบสาขาการจัดการเงินและการธนาคาร ทำงานอะไรได้บ้าง
1. งานในธุรกิจด้านการเงินและการธนาคาร เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์หลักทรัพย์ เจ้าหนี้อำนวยสินเชื่อ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ เจ้าหน้าที่การตลาดในสถาบันการเงิน เป็นต้น
2. งานในธุรกิจต่างๆทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิต การบริการและการค้า เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน เจ้าหน้าทีวิเคราะห์งบการเงิน เป็นต้น
อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินและการธนาคาร
รายชื่อ |
ประวัติการศึกษา |
สถาบัน |
1. ดร.สัมฤทธิ์ เทียนดำ |
Ph,d, Argriculural Economic |
University of Kentucky ,USA |
2. ดร.สมชาย เบ็ญจวรรณ |
Ph,d, วัฒนธรรมศาสตร์ |
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
3. อาจารย์อาภรณ์ นุชาชาติพงศ์ |
MBA(Finance) |
มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
4. อาจารย์เกียรติศักดิ์ สิงโต |
พบ.ม.(พัฒนาเศรษฐกิจ-เศรษฐกิจการคลัง) |
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) |
5 อาจารย์วิมล ประคัลภ์พงศ์ |
MBA(Finance) |
มหาวิทยาลัยสยาม |
6. อาจารย์ภาณุมาศ สนโศรก |
พบ.ม.(เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและแรงงาน) |
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) |
7. อาจารย์วันชัย แก้วโสภา |
วท.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
8. อาจารย์ปรัชญา ปิ่นมณี |
MEC(Economic) |
Macquarie University, Australia |
9. อาจารย์สมชัย เอื้อวิบูลย์ทรัพย์ |
MBA(Finance) |
Oklahoma City University, USA |
10. อาจารย์ยุทธนา ทองสุก |
วท.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
11. อาจารย์สุรชัย ภัทรบรรเจิด |
MBA(Finance) |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |