การส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร “สยามวิชาการ”

การส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร  “สยามวิชาการ”

ผู้ที่มีความประสงค์ส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร “สยามวิชาการ” จะต้องจัดเตรียมบทความต้นฉบับ และยินยอมปฏิบัติ ดังต่อไปนี้   

            1. บทความที่จะขอรับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ หรือบทความปริทัศน์ ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ การจัดการ การเงิน การธนาคาร การตลาด  เศรษฐศาสตร์ หรือการบัญชี จัดพิมพ์ด้วยแบบตัวอักษร Cordia New (ขนาดตัวอักษรในบทความจะแตกต่างกันตามที่วารสารฯ กำหนด (ดูข้อ 3 ถึง 14)) ความยาวไม่เกิน 20 หน้า แต่ไม่น้อยกว่า 8 หน้าของกระดาษพิมพ์ A4 จัดระยะห่างจากขอบกระดาษ ด้านซ้าย 2.0ซม. ส่วนด้านที่เหลือ 2.5 ซม. ให้เขียนเป็นบรรทัดหน้าเดี่ยว แบบความเรียงทั่วไป ไม่ต้องแบ่งเป็นคอลัมน์ จำนวนหน้าจะนับรวมทั้งเนื้อความ รูปภาพ ตาราง บรรณานุกรม และภาคผนวก โดยจะต้องมีองค์ประกอบของบทความตามที่วารสารฯ กำหนด (ดูข้อ 3 ถึง 14)

            2. บทความที่จะขอรับการพิจารณาจะต้องไม่เคยลงตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน หรือจะต้องไม่เคยเผยแพร่โดยวิธีการใดๆ มาก่อน นอกจากนี้ บทความดังกล่าวจะต้องไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ หรือกระบวนการเพื่อการเผยแพร่ใดๆ และเมื่อบทความได้ส่งมาถึง วารสาร “สยามวิชาการ”แล้ว ผู้เขียน หรือผู้มีลิขสิทธิ์ในบทความจะนำบทความออกเผยแพร่ หรือ นำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเพื่อเผยแพร่อย่างใดๆ มิได้อีก จนกว่ากระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความของวารสาร “สยามวิชาการ” จะเสร็จสิ้น

            3. บทความจะต้องประกอบด้วยชื่อเรื่องทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ใช้ขนาดตัวอักษร 24pt. (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ บทความภาษาไทยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน หากบทความเป็นภาษาอังกฤษให้นำชื่อเรื่องภาษาอังกฤษขึ้นก่อน

            4. ชื่อผู้เขียนให้อยู่ชิดด้านขวาบรรทัดถัดจากชื่อเรื่อง ใช้ตัวอักษร 16 pt. โดยให้เขียนเฉพาะชื่อตัว และชื่อสกุลเท่านั้น ไม่ต้องมีคำนำหน้า แล้วให้ทำเป็นเชิงอรรถที่ท้ายหน้าแรกของบทความ ใช้ตัวอักษร 14 pt.ระบุ ตำแหน่งงาน และหน่วยงานที่สังกัด พร้อมที่อยู่ 

            5. บทคัดย่อให้อยู่ชิดซ้ายบรรทัดถัดจากชื่อผู้เขียน บทความจะต้องมีบทคัดย่อทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 100 – 200 คำ บทคัดย่อภาษาไทยให้ขึ้นด้วยคำว่า บทคัดย่อ และบทคัดย่อภาษาอังกฤษให้ขึ้นด้วยคำว่า Abstract โดยใช้ขนาดตัวอักษร 18 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย และเมื่อจะเขียนเนื้อหาของบทคัดย่อ ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ ย่อหน้า จากนั้นจึงเริ่มเขียนเนื้อหาของบทคัดย่อโดยใช้ขนาดตัวอักษร 16 pt.บทความภาษาไทยให้นำบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนแล้วตามด้วยบทคัดย่อภาษาอังกฤษ หากบทความเป็นภาษาอังกฤษให้นำบทคัดย่อภาษาอังกฤษขึ้นก่อนแล้วตามด้วยบทคัดย่อภาษาไทย

            6. คำสำคัญให้อยู่ชิดซ้ายบรรทัดถัดจากบทคัดย่อ บทความจะต้องมีคำสำคัญทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 4 คำ แต่ละคำคั้นด้วยเครื่องหมายจุลภาค คำสำคัญภาษาไทยให้ขึ้นด้วยคำว่า คำสำคัญ และคำสำคัญภาษาอังกฤษให้ขึ้นด้วยคำว่า Keywords โดยใช้ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนาและเอียง) จัดชิดซ้าย จากนั้นเว้นวรรคแล้วเริ่มเขียนคำสำคัญ โดยใช้ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวเอียง)

            7. หัวเรื่องใหญ่ ใช้ขนาดตัวอักษร 18 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย ไม่ต้องใส่เลขลำดับที่

            8. หัวเรื่องรอง ใช้ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย

            9. เนื้อหาของบทความ ใช้ขนาดตัวอักษร 16 pt. หากมีย่อหน้าให้ย่อเข้ามา 1.2 ซม. จากเนื้อความทั่วไป

            10. ตาราง ให้กำหนดลำดับที่ของตารางด้วย ใช้คำว่า ตารางที่ …  โดยระบุไว้บนตารางจัดชิดซ้าย ใช้ขนาดตัวอักษร 16 (ตัวหนา) จากนั้นเว้นวรรคแล้วเขียนชื่อตาราง โดยใช้ขนาดตัวอักษร 16 pt. ใต้ตารางอาจเขียนอธิบายเพิ่มเติมหรือบอกแหล่งที่มาก็ได้ แต่ให้ใช้ขนาดตัวอักษร 14 pt. จัดชิดซ้าย

            11. รูปภาพ หรือแผนภูมิ ให้กำหนดลำดับที่ของรูปภาพด้วย ให้ใช้คำว่า ภาพที่ … โดยระบุไว้ใต้ภาพจัดชิดซ้าย ใช้ขนาดตัวอักษร 16 (ตัวหนา) จากนั้นเว้นวรรคแล้วเขียนชื่อภาพ โดยใช้ขนาดตัวอักษร 16 pt.อาจเขียนอธิบายเพิ่มเติมหรือบอกแหล่งที่มาก็ได้ โดยให้ขึ้นบรรทัดใหม่ ใช้ขนาดตัวอักษร 14 pt. จัดชิดซ้าย

            12. หมายเลขหน้า ให้ใส่ไว้ ณ ตำแหน่งกึ่งกลางด้านล่างของทุกหน้า

            13. บรรณานุกรม ให้เริ่มต้นด้วยคำว่า บรรณานุกรม จัดไว้กึ่งกลางหน้า ใช้ขนาดตัวอักษร 20 pt. (ตัวหนา) จากนั้นเริ่มเขียนรายการอ้างอิงโดยให้ขึ้นบรรทัดใหม่ ชิดด้านซ้าย และให้เรียงลำดับตัวอักษรด้วย โดยให้ใช้ขนาดตัวอักษร 16 pt. รายการอ้างอิงแต่ละรายการนั้น หากมีความยาวเกินกว่า 1 บรรทัด บรรทัดที่เกินมาให้ย่อหน้าเข้าไป 0.8 ซม. (โปรดดูวิธีการเขียนรายการอ้างอิงด้านล่างด้วย)

            14. การอ้างอิงเอกสาร ใช้การอ้างอิงตามระบบ นาม – ปี (แทรกในเนื้อความ) และรวบรวมเป็นบรรณานุกรมโดยใช้รูปแบบของ American Psychological Association (APA style) ไว้หน้าสุดท้าย

                        14.1. การอ้างอิงตามระบบ นาม – ปี (แทรกในเนื้อความ) ให้ระบุชื่อผู้เขียน และปีพิมพ์ ไว้ด้านหน้า หรือด้านหลังของข้อความที่ต้องการอ้างอิงแล้วแต่กรณี กรณีด้านหน้า ตัวอย่างเช่น วินัย รักไทย (2555) กล่าวว่า ….. หรือ Stevenson (2011) ให้ความเห็นว่า …..  กรณีด้านหลัง ตัวอย่างเช่น …..(วินัย รักไทย, 2555) หรือ ….. (Stevenson, 2011).    

                        14.2. ตัวอย่างการเขียนรายการอ้างอิงในบรรณานุกรม

                                    14.2.1. บทความจากวารสาร หรือ นิตยสาร

รูปแบบ

ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(เล่มที่), หน้าที่-หน้าที่.

ตัวอย่าง

วินัย รักไทย. (2555). การออมอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารบริหารธุรกิจ, 6(2), 12-24.

Stevenson, J.H. (2011). Entrepreneurial Ability. Business Journal, 18(4), 20-36.   

                                    14.2.2. หนังสือ

รูปแบบ

ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่ …). เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2534). ทฤษฎีองค์การ(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Stone, T. (1993). Manufacturing Organization. New York: Holm Publishing.     

                                    14.2.3. ผลงานเพื่อจบการศึกษา เอกสารการประชุม เอกสารรวบรวมงานวิจัย  จาการประชุมวิชาการ หรือ รายงานสืบเนื่องจากการประชุม

รูปแบบ

ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อผลงาน. ชื่อปริญญา ชื่อการประชุม สาขาวิชา หรือ รายละเอียดเพิ่มเติม, หน่วยงาน.

ตัวอย่าง

รัตนวรรณ ศรีทอง. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ในองค์การ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยสยาม.

Trikens, J. (1998). The Implication of Food Safety on Food Management. Independent Study in the fulfillment of Bachelor’s Degree in Business Administration, Wageningen University.       

                                   14.2.4. หนังสือพิมพ์

รูปแบบ

ชื่อผู้เขียน. (ปี, วันที่ เดือน). “ชื่อเรื่อง”. ชื่อหนังสือพิมพ์.

ตัวอย่าง

กร กาญชัยศรี. (2542, 12 กรกฎาคม). “เวลานอก”. ข่าวสด.

                                    14.2.5. อินเตอร์เน็ต

รูปแบบ

ชื่อผู้เขียน. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อผลงาน. สืบค้นเมื่อ วันที่ เดือน ปี, จาก … ให้ระบุ URL Address

ตัวอย่าง

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2542). การพิจารณากฎหมายควบคุมธุรกรรมการเงิน. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2545, จาก http://krisdika.go.th/wps/meosp

Johnson, M.A. (1998). The Analysis of Ancient European Trade Zone. Retrieved March 25, 1999, from http://www.hanaberky.com/story/european

                                    14.2.6. การอ้างอิงลักษณะอื่นๆ ที่ไม่ได้ให้ตัวอย่างไว้ ให้ถือตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA style)หรือ ติดต่อวารสารฯ เพื่อสอบถาม

            15. ผู้เขียนบทความ และผู้นำส่งบทความ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ สิทธิ์แห่งความเป็นเจ้าของบทความ สิทธิ์แห่งการได้มาซึ่งบทความ สิทธิ์ของการได้มาซึ่งข้อมูลที่ปรากฎอยู่ในบทความ สิทธิ์ของการใช้เครื่องมือเพื่อการประมวลผล หรือสิทธิ์อื่นใดอันเกี่ยวข้องกับบทความ วารสาร “สยามวิชาการ”เป็นผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้นำบทความออกเผยแพร่โดยสุจริตเท่านั้น สิทธิ์ทั้งปวงอันเกี่ยวข้องกับบทความยังเป็นของเจ้าของสิทธิ์อยู่ สิทธิ์นั้นไม่ได้ถูกถ่ายโอนมาเป็นของวารสารฯ แต่อย่างใด

            16. การส่งบทความ
                    ในหน้าแรกของเว็บไซด์ของวารสารฯ ที่ http://www.ba.siam.edu/units/siamjournal ให้เข้าไปที่เมนู “ส่งบทความออนไลน์” จากนั้นให้ดำเนินการดังนี้
                    – ดาวน์โหลด “แบบฟอร์มรับรองลิขสิทธิ์” ศึกษาทำความเข้าใจให้ละเอียด พร้อมลงนาม
                    – ศึกษารายละเอียดของค่าธรรมเนียม เงื่อนไข และการงดเว้น เมื่อเข้าใจดีแล้ว ให้ชำระค่าธรรมเนียมตามช่องทางที่กำหนด
                    – ส่ง บทความ (บทความต้องจัดรูปแบบตามที่วารสารฯ กำหนดเท่านั้น) แบบฟอร์มรับรองลิขสิทธิ์ที่ลงนามแล้ว และหลักฐานการชำระเงิน ผ่านเมนูข้างต้น ตามที่ระบบแนะนำ

Share this post with your friends